วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลำดับการแสดงหนังตะลุง


ลำดับการแสดงหนังตะลุง


หนังตะลุงทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกันจนถือเป็นธรรมเนียมนิยม ดังนี้

๑.ตั้งเครื่อง
๒.แตกแผง หรือแก้แผง
๓.เบิกโรง
๔.ลงโรง
๕.ออกลิงหัวค่ำ เป็นธรรมเนียมของหนังในอดีต ลิงดำเป็นสัญลักษณ์ของอธรรม ลิงขาวเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ เกิดสู้รบกัน ฝ่ายธรรมะก็มีชัยชนะแก่ฝ่ายอธรรม ออกลิงหัวค่ำยกเลิกไปไม่น้อยกว่า 70 ปีแล้ว ช่วงชีวิตของผู้เขียนไม่เคยเห็นลิงดำลิงขาวที่สู้รบกันเลย เพียงได้รับการบอกเล่าจากผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป
๖.ออกฤาษี หรือ ชักฤาษี รูปฤาษี หนังตะลุงถือว่าเป็นสัญลักษ์แทนครู-อาจารย์ การแสดงแต่ละครั้ง จะละเวันรูปฤาษีไม่ได้แต่ถ้าเราคิดในแนวอารยธรรม จะชี้ให้เห็นว่าหนังตะลุงน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียซึ่งอาจจะ ผ่าน เข้ามาทางภาคใต้โดยตรง หรือโดยอ้อมจากชวาก็ได้ เพราะสมัยหนึ่งชวาก็ได้รับพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาซึ่งมีหลักฐานคือ เจดีย์บุโรพุทโธ อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
๗. ออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค พระอิศวร เป็นรูปแทนเทพเจ้าของศาสนาฮินดูองค์หนึ่งการที่หนังตะลุงมาเชิดก็น่าจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความเชื่อถือและอารยธรรมซึ่งได้รับการถ่ายทอดจาก อินเดียเด่นชัดยิ่งขึ้น รูปพระอิศวรนี้ไม่ถือเป็นธรรมเนียมว่า จะต้องออกเชิดเหมือน รูปฤาษี เพราะถ้าหากมีความจำเป็นอาจจะตัดออกเสียได้ในบางครั้ง
๘.ออกรูปฉะ หรือรูปจับ "ฉะ" หมายถึง การสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ยกเลิกไปพร้อมๆกับลิงหัวค่ำ
๙.ออกรูปรายหน้าบทหรือรูปกาศ ปราย หมายถึง อภิปราย กาศ หมายถึง ประกาศ รูปปรายหน้าบท หรือ รูปกาศ หรือ รูปหน้าบท เสมือนเป็นตัวแทนนายหนังตะลุง เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายโอรสเจ้าเมือง มือหน้าเคลื่อนไหวได้ มือทำเป็นพิเศษให้นิ้วมือทั้ง 4 อ้าออกจากนิ้วหัวแม่มือได้ อีกมือหนึ่งงอเกือบตั้งฉาก ติดกับลำตัวถือดอกบัว หรือช่อดอกไม้ หรือธง
๑๐.ออกรูปบอกเรื่อง รูปบอกเรื่อง คือรูปบอกคนดูให้ทราบว่า ในคืนนี้หนังแสดงเรื่องอะไร สมัยที่หนังแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว ก็ต้องบอกให้ผู้ดูทราบว่าแสดงเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด บอกคณะบอกเค้าเรื่องย่อๆ เพื่อให้ผู้ดูสนใจติดตามดู หนังทั่วไปนิยมใช้รูปนายขวัญเมืองบอกเรื่อง
๑๑.ขับร้องบทเกี้ยวจอ
๑๒.ตั้งนามเมืองหรือตั้งเมือง เริ่มแสดงเป็นเรื่องราว ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องที่จะนำแสดงในคืนนั้น กล่าวคือการออกรูปเจ้าเมืองและนางเมือง

โอกาสในการแสดงของหนังตะลุง เดิมหนังตะลุงนิยมแสดงเฉพาะในงานสมโภช เฉลิมฉลอง ไม่แสดงงานอัปมงคล เช่น งานศพ แต่ความเชื่อในเรื่องนี้หมดไป โอกาสแสดงของหนังตะลุงจะแนกออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้

๑.งานบ้าน เช่น แก้เหมรย บวชนาค แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ งานสระหัว งานทำบุญบ้าน สวดบ้าน
๒.งานวัด เช่น ฝังลูกนิมิต งานฉลองกุฏิวิหาร งานเทศกาลประจำปีของวัด งานชักพระ งานประเพณีทำบุญเดือนสิบ
๓.งานจัดรายการ ชาวบ้านเรียกว่างานสวนสนุก มีการแข่งขันประชันโรง เช่น งานแข่งขันกรีฑา งานมหกรรมหนังตะลุง งานปีใหม่ งานสงกรานต์ เอกชนเป็นผู้จัด เพื่อการค้ากำไรเป็นสำคัญ ระหว่างปี พ.ศ.2520-2526 มีงานจัดรายการมากที่สุด ต้องแย่งชิงกันรับหนังที่มีชื่อเสียง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมว่างเว้นไม่ได้แม้คืนเดียว ส่วนเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ภาคใต้ฝนตกชุก นักจัดรายการไม่กล้าเสี่ยง ช่วงระยะเวลาดังกล่าว หนังเกิดขึ้นใหม่หลายร้อยคณะทั่วทั้งภาคใต้ ในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่เกิน 100 คณะ ล้วนแต่มีอายุล่วง 45 ปีไปแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น